ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บขององค์การบริหารส่วนตำบลนาอุดม
อีเมลล์. obtnaudom@gmail.com
เบอร์โทร. 042-049872 สำนักปลัด, 042-049873 กองคลัง, 042-049874 ปภ, 042-049875 ศพด.นาอุดม
องค์การบริหารส่วนตำบลนาอุดม อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร
Naudom Subdistrict Administration Organization
อบต.นาอุดม ขอแจ้งเปลี่ยนแปลงหมายเลขโทรศัพท์ดังนี้ 1 สำนักปลัด 042-049872 :2 กองคลัง 042-049873 :3 ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 042-049874 :4 ศพด.วัดนาอุดม 042-049875

ผู้บริหาร สมาชิกสภา

ลิงค์สำคัญ

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

ประชาคม ร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาอุดม เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ….......

...

     ประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลนาอุดม

   เรื่อง  ประชาสัมพันธ์และรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับ

ร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาอุดม เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ….......

 

               ด้วยองค์การบริหารส่วนตำบลนาอุดม อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร ได้จัดทำร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาอุดม เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. …....... ซึ่งตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. ๒๕๖๒ กำหนดให้มีการเผยแพร่ข้อมูลและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และผู้มีส่วนได้เสีย

               การดำเนินการยกร่างข้อบัญญัติดังกล่าวอาจมีผลกระทบและมีส่วนได้เสียต่อวิถีชีวิตของประชาชนที่อยู่อาศัยหรือประกอบอาชีพในชุมชนท้องถิ่น และพื้นที่ใกล้เคียงเป็นส่วนรวม องค์การบริหารส่วนตำบลนาอุดม จึงจัดให้มีการเผยแพร่ข้อมูล และรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เพื่อให้ประชาชนมีความเข้าใจที่ถูกต้อง และรวบรวมความคิดเห็นของประชาชนเสนอสภาองค์การบริหารส่วนตำบลนาอุดมพิจารณาให้ความเห็นชอบ

              ในการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาอุดม เรื่อง ควบคุมการจัดการสิ่งปฏิกูล พ.ศ. ๒๕๖๒ องค์การบริหารส่วนตำบลนาอุดมจะดำเนินการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาอุดม เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. …....... มีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้

          ๑. ติดตามประกาศประชาสัมพันธ์เผยแพร่ ณ ที่ทำกาองค์การบริหารส่วนตำบลนาอุดม              อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร

          ๒. เผยแพร่ทางเว็บไซต์องค์การบริหารส่วนตำบลนาอุดม www.nud.go.th

          ๓. เผยแพร่สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลนาอุดม และกำนันผู้ใหญ่บ้านตำบลนาอุดม

          ๔. แสดงความคิดเห็นผ่านทางโทรศัพท์ หมายเลข ๐-๔๒๖๖-๐๙๗๖ หรือทางไปรษณีย์ส่งถึง องค์การบริหารส่วนตำบลนาอุดม หมู่ ๖ ตำบลนาอุดม อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร ๔๙๑๓๐ หรือด้วยตนเอง ที่สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลนาอุดม อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร หรือทางเว็บไซต์ www.nud.go.th หรือทาง gmail : obtnaudom@gmail.com ภายในวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๖๒ ทั้งนี้สามารถดาวโหลดเอกสารได้ที่ www.nud.go.th

          ๕. เผยแพร่และดำเนินการจัดการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โดยองค์การบริหารส่วนตำบลนาอุดม ในวันที่ ๓๐. สิงหาคม ๒๕๖๒ เวลา ๐๙.๐๐ น. เป็นต้นไป ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลนาอุดม อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร

          ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลนาอุดม อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหา มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นที่มีต่อ ร่าง ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาอุดม เรื่อง ควบคุมการจัดการสิ่งปฏิกูล พ.ศ. ๒๕๖๒ ตามวัน เวลา และสถานที่ดังกล่าวข้างต้นโดยพร้อมเพรียงกัน

               จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

 

                                 ประกาศ  ณ  วันที่       เดือน  สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๒

 

 

      ( นายจำนงค์  ผลาเหิม )

       นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาอุดม

 

 

 

 

( ร่าง )

บันทึกหลักการและเหตุผล

ประกอบร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาอุดม

เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ….”

 

                  

 

หลักการ

 

                    ให้มีข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาอุดมว่าด้วยการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย

 

เหตุผล

 

                    โดยที่การจัดการสิ่งปฏิกูลที่ไม่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ                     ของประชาชน การจัดการสิ่งปฏิกูลที่เหมาะสมและถูกสุขลักษณะจะควบคุมและป้องกันไม่ให้มีการแพร่กระจายของโรคและไม่ก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญต่อประชาชน และไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย  ซึ่งการจัดการสิ่งปฏิกูลมีขั้นตอนการดำเนินการหลายขั้นตอนตั้งแต่การเก็บ ขน และกำจัด สมควรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรการเกี่ยวกับสุขลักษณะในการจัดการสิ่งปฏิกูล หลักเกณฑ์การอนุญาตให้บุคคลใดเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ และอัตราค่าธรรมเนียมการให้บริการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลของราชการ             ส่วนท้องถิ่นและอัตราค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตให้บุคคลใดเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ จึงตราข้อบัญญัตินี้

 

 

 

 

 ( ร่าง )

 

ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาอุดม

เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ….

 

                  

 

โดยที่เป็นการสมควรให้มีข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาอุดมว่าด้วยการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย

 

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบมาตรา ๒๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย องค์การบริหารส่วนตำบลนาอุดม โดยความเห็นชอบของ           สภาองค์การบริหารส่วนตำบลนาอุดมและนายอำเภอนิคมคำสร้อย จึงตราข้อบัญญัติไว้ดังต่อไปนี้

 

                    ข้อ ๑  ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาอุดม เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ….......

 

                    ข้อ ๒  ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาอุดมตั้งแต่วันถัดจาก                 วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

 

                    ข้อ ๓ ให้ยกเลิก ข้อบัญญัติตำบลนาอุดม เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๔๙

          บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน

                 ข้อ ๔  ในข้อบัญญัตินี้

“สิ่งปฏิกูล” หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะของคน หรือสิ่งอื่นใดที่ปนเปื้อนอุจจาระ หรือปัสสาวะ

“การจัดการสิ่งปฏิกูล” หมายความว่า กระบวนการดำเนินการตั้งแต่การรองรับ การขน และการกำจัดสิ่งปฏิกูล

“ส้วม” หมายความว่า สถานที่ที่จัดไว้สำหรับถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ และให้หมายความรวมถึงระบบรองรับสิ่งปฏิกูล

“ส้วมส่วนรวม” หมายความว่า ส้วมที่จัดไว้เพื่อให้บริการเป็นการทั่วไปภายในหน่วยงานของรัฐ เอกชน หรือสถานที่ต่าง ๆ และให้หมายความรวมถึงส้วมสาธารณะ ไม่ว่าจะมีการจัดเก็บค่าใช้จ่ายหรือไม่

“ส้วมเคลื่อนที่” หมายความว่า ส้วมที่ติดตั้งในยานพาหนะหรือแพ

“ส้วมชั่วคราว” หมายความว่า ส้วมที่ไม่ได้สร้างเป็นการถาวร และให้หมายความรวมถึงส้วมประกอบสำเร็จรูป

“ถังเก็บกักสิ่งปฏิกูล” หมายความว่า ถุงหรือบ่อที่มีลักษณะที่มิดชิด น้ำซึมผ่านไม่ได้เพื่อใช้เป็นที่รองรับสิ่งปฏิกูลจากส้วมก่อนขนไปกำจัด

“การขนสิ่งปฏิกูล” หมายความว่า การสูบสิ่งปฏิกูลจากถังเก็บกักสิ่งปฏิกูลแล้วนำไปยังระบบบำบัดหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลรวม

“การกำจัดสิ่งปฏิกูล” หมายความว่า การปรับปรุงหรือแปรสภาพสิ่งปฏิกูลให้ปราศจากมลภาวะ สภาพอันน่ารังเกียจ หรือการก่อให้เกิดโรค เพื่อนำไปใช้ประโยชน์หรือทำลาย

 “กากตะกอน” หมายความว่า ส่วนที่เป็นของแข็งซึ่งเหลือจากการกำจัดสิ่งปฏิกูล

“ราชการส่วนท้องถิ่น” หมายความว่า องค์การบริหารส่วนตำบลนาอุดม

“เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาอุดม

“เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕

 

ข้อ ๕  ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลนาอุดม ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้

 

                    ข้อ ๖  ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาอุดมเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้

 

 

 

หมวด ๑

บททั่วไป

                  

 

                    ข้อ ๗  การจัดการสิ่งปฏิกูลในเขตราชการส่วนท้องถิ่นเป็นอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่น

                    ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ราชการส่วนท้องถิ่นอาจร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือ     ราชการส่วนท้องถิ่นดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกันก็ได้

                    ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรราชการส่วนท้องถิ่นอาจมอบให้บุคคลใดดำเนินการขน หรือกำจัด สิ่งปฏิกูลแทนภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่นหรืออาจอนุญาตให้บุคคลใดเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการก็ได้

 

                    ข้อ ๘  ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการขนสิ่งปฏิกูลแทน หรือ                 จะอนุญาตให้บุคคลใดดำเนินกิจการขนสิ่งปฏิกูลโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการ                คิดค่าบริการ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดเขตพื้นที่ที่ราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการขนสิ่งปฏิกูลแทน หรือเขตพื้นที่การอนุญาตให้บุคคลใดดำเนินกิจการขนสิ่งปฏิกูลโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการแล้วแต่กรณี และเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ

 

ข้อ ๙  ห้ามมิให้ผู้ใดถ่าย เท ทิ้ง หรือทำให้มีขึ้นในที่หรือทางสาธารณะซึ่งสิ่งปฏิกูล นอกจากถ่าย เท ทิ้ง หรือ กำจัด ณ สถานที่หรือตามวิธีที่ราชการส่วนท้องถิ่นกำหนดหรือจัดให้

 

ข้อ ๑๐  ราชการส่วนท้องถิ่น หรือราชการส่วนท้องถิ่นร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่ดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกัน และบุคคลซึ่งราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้ดำเนินการขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่น รวมทั้งบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจาก                เจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ แล้วแต่กรณีต้องดำเนินการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อบัญญัตินี้รวมทั้งกฎกระทรวงและประกาศกระทรวง                   ออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕

 

                    ข้อ ๑๑  ในกรณีที่มีการจัดงานมหรสพ งานเทศกาล งานแสดงสินค้า การชุมนุม การชุมนุมสาธารณะหรือกิจกรรมอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันซึ่งใช้เวลาในการดำเนินการตั้งแต่สามชั่วโมงขึ้นไป                  ผู้จัดหรือผู้รับผิดชอบการดำเนินการดังกล่าว ต้องจัดให้มีส้วม ส้วมส่วนรวม ส้วมเคลื่อนที่ หรือส้วมชั่วคราว                  ที่ถูกสุขลักษณะสำหรับให้บริการอย่าเพียงพอ

                    เมื่อการดำเนินการตามวรรคหนึ่งเสร็จสิ้น ในกรณีที่มีการติดตั้งส้วมเคลื่อนที่หรือส้วมชั่วคราว ให้ผู้จัดหรือผู้รับผิดชอบรื้อถอนและปรับสภาพพื้นที่บริเวณดังกล่าวให้เรียบร้อยและถูกสุขลักษณะ ในการนี้                   ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขมีอำนาจตรวจสอบความเรียบร้อยในการรื้อถอน                   และปรับสภาพพื้นที่ดังกล่าว

 

                    ข้อ ๑๒ ในกรณีที่เกิดสาธารณภัยตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หรือเกิดเหตุฉุกเฉินให้ราชการส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานของรัฐจัดให้มีส้วมเคลื่อนที่หรือส้วมชั่วคราว                  ที่ถูกสุขลักษณะสำหรับให้บริการตามความเหมาะสมกับสถานการณ์

 

 

 

หมวด ๒

หลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรการเกี่ยวกับสุขลักษณะในการจัดการสิ่งปฏิกูล

                  

 

ส่วนที่ ๑

สุขลักษณะของห้องส้วม

 

ข้อ ๑๓  เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร หรือสถานที่ที่ให้บริการส้วมส่วนรวมต้องดำเนินการให้ส้วมดังกล่าวถูกสุขลักษณะตลอดเวลาที่เปิดให้บริการ ดังต่อไปนี้

                    (๑) จัดให้มีภาชนะรองรับมูลฝอยทั่วไปที่ถูกลักษณะ สะอาด มีฝาปิดมิดชิด และอยู่ในสภาพดีไม่รั่วซึม ตั้งอยู่ในบริเวณอ่างล้างมือหรือบริเวณใกล้เคียง

                    (๒) จัดให้มีสบู่สำหรับล้างมือซึ่งพร้อมใช้งานได้

                    (๓) ดูแลพื้น ผนัง เพดาน โถส้วม โถปัสสาวะ และที่กดเปิดปิดน้ำของโถส้วม และโถปัสสาวะให้สะอาด รวมทั้งต้องบำรุงรักษาให้พร้อมใช้งานได้

                    (๔) จัดให้มีถังเก็บกักสิ่งปฏิกูลที่มีสภาพดี ไม่ชำรุด ไม่แตก หรือรั่วซึม สามารถป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรค เมื่อถังเก็บกักสิ่งปฏิกูลเต็มหรือเลิกใช้งานต้องขนสิ่งปฏิกูลไปกำจัดให้ได้มาตรฐาน

 

ข้อ ๑๔  ยานพาหนะหรือแพที่มีส้วมเคลื่อนที่ให้เจ้าของยานพาหนะหรือแพต้องดำเนินการ ให้ส้วมดังกล่าวถูกสุขลักษณะตามหลักเกณฑ์ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกำหนด

 

                    ข้อ ๑๕ ผู้ที่จัดให้มีส้วมชั่วคราวต้องดำเนินการให้ส้วมดังกล่าวถูกสุขลักษณะตลอดเวลา           ที่เปิดให้บริการตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกำหนด

 

ส่วนที่ ๒

สุขลักษณะในการขนสิ่งปฏิกูล

 

                    ข้อ ๑๖  ราชการส่วนท้องถิ่น หรือราชการส่วนท้องถิ่นร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่ดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกัน และบุคคลซึ่งราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้ดำเนินการขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่น รวมทั้งบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาต             จากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ แล้วแต่กรณีต้องขนสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้

                    (๑) จัดให้มียานพาหนะขนสิ่งปฏิกูลและอุปกรณ์ที่จำเป็นตามที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้               ที่มีจำนวนเพียงพอกับการให้บริการ

                    (๒) ดำเนินการสูบสิ่งปฏิกูลในช่วงเวลาที่เหมาะสม โดยต้องมีมาตรการป้องกันกลิ่นในขณะ              ที่ทำการสูบสิ่งปฏิกูลเพื่อไม่ให้รบกวนอาคารสถานที่ใกล้เคียงจนเป็นเหตุรำคาญ

                    (๓) ทำความสะอาดท่อสำหรับใช้สูบสิ่งปฏิกูลหลังจากสูบสิ่งปฏิกูลเสร็จแล้ว โดยการสูบ             น้ำสะอาดจากถังเพื่อล้างภายในท่อหรือสายสูบ และทำความสะอาดท่อหรือสายสูบด้านนอกที่สัมผัสสิ่งปฏิกูล          ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ

                    (๔) ในกรณีที่มีสิ่งปฏิกูลหกหล่น ให้ทำลายเชื้อโรคด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ แล้วทำความสะอาด        ด้วยน้ำ

                    (๕) จัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสม และมีสภาพพร้อมใช้งานสำหรับผู้ปฏิบัติงานสูบและขนสิ่งปฏิกูล รวมทั้งจัดให้มีอุปกรณ์หรือเครื่องมือป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน ตลอดจนเครื่องมือปฐมพยาบาลเบื้องต้น ไว้ประจำยานพาหนะขนสิ่งปฏิกูล และตรวจตราควบคุม ให้มีการใส่อุปกรณ์หรือเครื่องมือดังกล่าว

                    (๖) ผู้ปฏิบัติงานสูบและขนสิ่งปฏิกูลต้องสวมเสื้อผ้ามิดชิด ถุงมือยางหนา ผ้าปิดปาก ปิดจมูก และสวมรองเท้าพื้นยางหุ้มแข็ง และต้องทำความสะอาด ถุงมือยางหนา และรองเท้าพื้นยางหุ้มแข้ง ทุกครั้ง           หลังการปฏิบัติงาน

                    (๗) ต้องทำความสะอาดยานพาหนะขนสิ่งปฏิกูลหลังจากที่ออกปฏิบัติงานอย่างน้อยวันละหนึ่งครั้ง และน้ำเสียที่เกิดจากการทำความสะอาดต้องเข้าสู่ระบบบำบัดหรือกำจัดน้ำเสีย หรือบ่อซึม โดยบ่อซึมต้องอยู่ห่างจากแม่น้ำ คู คลอง หรือแหล่งน้ำธรรมชาติไม่น้อยกว่าสิบเมตร

                    (๘) ต้องจัดให้มีสถานที่เฉพาะที่มีขนาดกว้างขวางเพียงพอสำหรับจอดเก็บยานพาหนะ                ขนสิ่งปฏิกูล

                    (๙) ห้ามนำยานพาหนะขนสิ่งปฏิกูลไปใช้กิจการอื่น และห้ามนำสิ่งปฏิกูลไปทิ้งในที่สาธารณะ

 

                    ข้อ ๑๗  ราชการส่วนท้องถิ่น หรือราชการส่วนท้องถิ่นร่วมกับหน่วยงานของรัฐ หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่ดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกัน และบุคคลซึ่งราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้ดำเนินการขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่น รวมทั้งบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ แล้วแต่กรณีต้องจัดให้ผู้ปฏิบัติงานที่ทำหน้าที่สูบและขนสิ่งปฏิกูลได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี และได้รับการฝึกอบรมความรู้เกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูล

 

                    ข้อ ๑๘  ยานพาหนะสำหรับขนสิ่งปฏิกูลต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้

                    (๑) ถังที่ใช้บรรจุสิ่งปฏิกูลต้องมีฝาเปิดและปิดอยู่ด้านบน โดยสามารถปิดได้มิดชิด ไม่รั่วซึม และป้องกันกลิ่นสัตว์ และแมลงพาหนะนำโรคได้

                    (๒) ท่อหรือสายที่ใช้สูบสิ่งปฏิกูลต้องไม่รั่วซึม

                    (๓) มีปั๊มสูบสิ่งปฏิกูลที่สามารถสูบตะกอนหนักได้ และมีมาตรวัดสิ่งปฏิกูลซึ่งอยู่ในสภาพ              ที่ใช้การได้ดี

                    (๔) มีช่องเก็บอุปกรณ์ทำความสะอาดประจำยานพาหนะสูบสิ่งปฏิกูล เช่น ถังใส่น้ำ ไม้กวาด น้ำยาฆ่าเชื้อโรค เป็นต้น

                    (๕) บนตัวถังที่ใช้บรรจุสิ่งปฏิกูลต้องมีข้อความว่า “ใช้เฉพาะขนสิ่งปฏิกูล” โดยสามารถมองเห็นได้ชัดเจนจากภายนอก

                    ในกรณีที่การขนสิ่งปฏิกูลดำเนินการโดยราชการส่วนท้องถิ่น ให้ราชการส่วนท้องถิ่นนั้น  แสดงชื่อของราชการส่วนท้องถิ่นด้วยตัวหนังสือขนาดที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนไว้ที่ภายนอกตัวถังด้านข้าง   ทั้งสองด้านของยานพาหนะขนสิ่งปฏิกูลในบริเวณที่บุคคลภายนอกสามารถมองเห็นได้ชัดเจน

                    ในกรณีที่การขนสิ่งปฏิกูลดำเนินการโดยผู้ที่ได้รับมอบให้เป็นผู้ขนสิ่งปฏิกูลภายใต้                     การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่น ให้ผู้ที่รับมอบนั้นแสดงชื่อราชการส่วนท้องถิ่นด้วยตัวหนังสือขนาดที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนไว้ที่ภายนอกตัวถังด้านข้างทั้งสองด้านของยานพาหนะขนสิ่งปฏิกูล พร้อมกับแสดงแผ่นป้ายระบุชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขที่ภายนอกตัวถังด้านข้างทั้งสองของยานพาหนะขนสิ่งปฏิกูล พร้อมกับแสดงแผ่นป้ายระบุชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ที่ได้รับมอบในบริเวณที่บุคคลภายนอกสามารถมองเห็นได้ชัดเจน

                    ในกรณีที่การขนสิ่งปฏิกูลดำเนินการโดยผู้ที่ได้รับใบอนุญาตจากราชการท้องถิ่น ให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตแสดงรหัสหรือหมายเลขทะเบียนใบอนุญาต ในกรณีที่ได้รับใบอนุญาตจากราชการส่วนท้องถิ่น           หลายแห่งให้แสดงเฉพาะเลขทะเบียนใบอนุญาตใบแรก และให้เก็บสำเนาหลักฐานใบอนุญาตใบอื่นไว้ที่ยานพาหนะขนสิ่งปฏิกูลเพื่อการตรวจสอบ โดยทุกกรณีต้องแสดงแผ่นป้ายระบุชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ของบริษัท           หรือเจ้าของกิจการขนาดที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนไว้ที่ภายนอกตัวถังด้านข้างทั้งสองด้านของยานพาหนะ           ขนสิ่งปฏิกูลในบริเวณที่บุคคลภายนอกสามารถมองเห็นได้ชัดเจนโดยตัวอักษรมีความสูงไม่น้อยกว่าสิบเซนติเมตร

 

                    ข้อ ๑๙  ในการขนสิ่งปฏิกูล ให้ราชการส่วนท้องถิ่นกำหนดเส้นทางและออกเอกสารกำกับการขนส่ง เพื่อป้องกันการลักลอบทิ้งสิ่งปฏิกูล

 

ส่วนที่ ๓

สุขลักษณะในการกำจัดสิ่งปฏิกูล

 

                    ข้อ ๒๐  การกำจัดสิ่งปฏิกูลไม่ว่าจะใช้วิธีการใด การนำน้ำทิ้งและกากตะกอนที่ผ่านการกำจัดสิ่งปฏิกูลแล้วไปใช้ประโยชน์หรือปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมต้องได้มาตรฐานตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งต้องได้มาตรฐานปริมาณไข่หนอนพยาธิและแบคทีเรียอีโคไล ดังต่อไปนี้ด้วย

 

ประเภท

ไข่หนอนพยาธิ

จำนวน/กรัม

หรือลิตร

แบคทีเรียอีโคไล

(Escherchia Coli Bacteria)

(จำนวน/๑๐๐ กรัม หรือ

เอ็ม.พี.เอ็น/๑๐๐ มล.)

๑. กากตะกอน

น้อยกว่า ๑

น้อยกว่า ๑๐๓

๒. น้ำทิ้ง

น้อยกว่า ๑

น้อยกว่า ๑๐๓

         

                    วิธีการเก็บตัวอย่างและวิธีการตรวจหาไข่หนอนพยาธิและแบคทีเรียอีโคไลในกากตะกอนและน้ำทิ้งที่ผ่านการกำจัดสิ่งปฏิกูลต้องเป็นไปตามที่รัฐมนตรีกำหนด

 

                    ข้อ ๒๑  ผู้ปฏิบัติงานกำจัดสิ่งปฏิกูลต้องได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี และผ่านการฝึกอบรมความรู้เกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลตามหลักสูตรที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด

 

                    ข้อ ๒๒  ในสถานที่กำจัดสิ่งปฏิกูลต้องจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่เหมาะสมสำหรับผู้ปฏิบัติงานกำจัดสิ่งปฏิกูล และมีอุปกรณ์หรือเครื่องมือป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน ตลอดจนเครื่องมือปฐมพยาบาลเบื้องต้นติดตั้งไว้

 

                    ข้อ ๒๓  ผู้ปฏิบัติงานกำจัดสิ่งปฏิกูลต้องสวมเสื้อคลุม ถุงมือยางหนา ผ้ายางกันเปื้อน ผ้าปิดปาก ปิดจมูก และสวมรองเท้าพื้นยางหุ้มแข้ง และต้องทำความสะอาดเสื้อคลุม ถุงมือยางหนา ผ้ายางกันเปื้อน และรองเท้าพื้นยางหุ้มแข้ง ทุกครั้งหลังการปฏิบัติงาน

 

หมวด ๓

ใบอนุญาต

                  

 

                    ข้อ ๒๔  ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการรับทำการขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลโดยทำเป็นธุรกิจหรือ              โดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น

 

ข้อ ๒๕  ผู้ใดประสงค์จะเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตราชการส่วนท้องถิ่น จะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐานดังต่อไปนี้

                    (๑) สำเนาบัตรประจำตัว (ประชาชน ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ อื่น ๆ)

                    (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

                    (๓) อื่น ๆ ตามที่ราชการส่วนท้องถิ่นประกาศกำหนดและเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ

 

    &nb