ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บขององค์การบริหารส่วนตำบลนาอุดม
อีเมลล์. obtnaudom@gmail.com
เบอร์โทร. 042-049872 สำนักปลัด, 042-049873 กองคลัง, 042-049874 ปภ, 042-049875 ศพด.นาอุดม
องค์การบริหารส่วนตำบลนาอุดม อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร
Naudom Subdistrict Administration Organization
อบต.นาอุดม ขอแจ้งเปลี่ยนแปลงหมายเลขโทรศัพท์ดังนี้ 1 สำนักปลัด 042-049872 :2 กองคลัง 042-049873 :3 ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 042-049874 :4 ศพด.วัดนาอุดม 042-049875

ผู้บริหาร สมาชิกสภา

ลิงค์สำคัญ

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

ร่างขัอบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาอุดม เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

...

( ร่าง )
บันทึกหลักการและเหตุผล
ประกอบร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาอุดม
เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
พ.ศ. .............
หลักการ
ให้มีข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาอุดมว่าด้วยการควบคุมกิจการที่เป็นอันตราย ต่อสุขภาพ
เหตุผล
โดยที่การดำเนินกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพที่ไม่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน และก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย สมควรกำหนดประเภทของกิจการ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพให้เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในท้องถิ่น กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขทั่วไปสำหรับให้ดำเนินกิจการปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลสภาพหรือสุขลักษณะของสถานที่ที่ใช้ดำเนินกิจการและมาตรการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ หลักเกณฑ์การอนุญาตให้ดำเนินกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อัตราค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตให้ดำเนินกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ จึงตราข้อบัญญัตินี้

- ร่าง -
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาอุดม
เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
พ.ศ. ..........
โดยที่เป็นการสมควรให้มีข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาอุดมว่าด้วยการควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม องค์การบริหารส่วนตำบลนาอุดม โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลนาอุดมและนายอำเภอนิคมคำสร้อย จึงตราข้อบัญญัติไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาอุดม เรื่อง การควบคุม กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ..........”
ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาอุดมตั้งแต่วันถัดจาก วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในข้อบัญญัตินี้
“สถานประกอบกิจการ” หมายความว่า สถานที่ที่ใช้ในการประกอบกิจการที่เป็นอันตราย ต่อสุขภาพ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ออกตามความในมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติ การสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
“ผู้ดำเนินกิจการ” หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของ หรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินการของสถานประกอบกิจการนั้น
“ผู้ปฏิบัติงาน” หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ
“มลพิษทางเสียง” หมายความว่า สภาวะทางเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
“มลพิษทางอากาศ” หมายความว่า สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการ ของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
“มลพิษทางน้ำ” หมายความว่า สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถาน
/ประกอบกิจ...

ประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
“มลพิษทางแสง” หมายความว่า สภาวะของแสงอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
“มลพิษทางความร้อน” หมายความว่า สภาวะของความร้อนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
“มลพิษความสั่นสะเทือน” หมายความว่า สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย ของสาธารณชน
“ของเสียอันตราย” หมายความว่า มูลฝอย สิ่งปฏิกูล น้ำเสีย อากาศเสีย มลสารหรือสิ่งอื่นใด ที่ปนเปื้อนสารพิษอันเกิดจาการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรือ อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
“วัตถุอันตราย” หมายความว่า วัตถุอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย
“ราชการส่วนท้องถิ่น” หมายความว่า องค์การบริหารส่วนตำบลนาอุดม
“เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาอุดม
“เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๔ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลนาอุดม ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้
ข้อ ๕ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาอุดมเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ ๖ ให้กิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในท้องถิ่น
๑. กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง
(๑) การเพาะพันธุ์ เลี้ยง และการอนุบาลสัตว์ทุกชนิด
(๒) การประกอบกิจการเลี้ยง รวบรวมสัตว์ หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าดูหรือค่าบริการในทางตรง หรือทางอ้อม หรือไม่ก็ตาม /๒. กิจการ...

๒. กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์
(๑) การฆ่า หรือชำแหละสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร เร่ขาย หรือขายในตลาด
(๒) การหมัก ฟอก ตาก หรือสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์
(๓) การสะสมเขา กระดูก หรือชิ้นส่วนสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป
(๔) การเคี่ยวหนัง เอ็น หรือไขสัตว์
(๕) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือก กระดอง กระดูก เขา หนัง ขนสัตว์ หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ด้วยการต้ม นึ่ง ตาก เผาหรือกรรมวิธีใด ๆ ซึ่งมิใช่เพื่อเป็นอาหาร
(๖) การผลิต โม่ ป่น บด ผสม บรรจุ สะสม หรือกระทำอื่นใดต่อสัตว์หรือพืช หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์หรือส่วนประกอบของอาหารสัตว์
(๗) การผลิต แปรรูป สะสม หรือล้างครั่ง
๓. กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำพริกแกง น้ำพริกปรุงสำเร็จ เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว น้ำจิ้มหรือซอสปรุงรสชนิดต่าง ๆ
(๒) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง จากสัตว์ ได้แก่ ปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ปลาส้ม ปลาจ่อม แหนม หม่ำ ไส้กรอก กะปิ น้ำปลา หอยดอง น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน
(๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง แช่อิ่ม จากผัก ผลไม้ หรือพืช อย่างอื่น
(๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารจากพืชหรือสัตว์โดยการตาก บด นึ่ง ตุ๋น เคี่ยว กวน ฉาบ ทอด อบ รมควัน ปิ้ง ย่าง เผา หรือวิธีอื่นใด
(๕) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุลูกชิ้น
(๖) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ เนื้อสัตว์เทียม หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน
(๗) การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี สปาเกตตี้ พาสต้า หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน
(๘) การผลิต ขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี้ยะ ขนมอบอื่น ๆ
(๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำนม หรือผลิตภัณฑ์จากน้ำนมสัตว์
(๑๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เนย เนยเทียม เนยผสม ผลิตภัณฑ์เนย ผลิตภัณฑ์เนยเทียม และผลิตภัณฑ์เนยผสม
(๑๑) การผลิตไอศกรีม
(๑๒) การคั่ว สะสม หรือแบ่งบรรจุกาแฟ /(๑๓) การผลิต...

(๑๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ใบชาแห้ง ชาผง หรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ
(๑๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เอททิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ ไวน์ น้ำส้มสายชู ข้าวหมาก น้ำตาลเมา
(๑๕) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค น้ำดื่มจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ
(๑๖) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ หรือขนส่งน้ำแข็ง
(๑๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำจากพืช ผัก ผลไม้ เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง ขวดหรือภาชนะอื่นใด
(๑๘) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด
(๑๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ผงชูรส หรือสารปรุงแต่งอาหาร
(๒๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำตาล น้ำเชื่อม
(๒๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุแบะแซ
(๒๒) การแกะ ตัดแต่ง ล้างสัตว์น้ำ ที่ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น
(๒๓) การประกอบกิจการห้องเย็นแช่แข็งอาหาร
(๒๔) การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักร
๔. กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
(๑) การผลิต โม่ บด ผสม หรือบรรจุยา
(๒) การผลิต การบรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น กระดาษเย็น เครื่องสำอาง รวมทั้งสบู่ที่ใช้กับร่างกาย
(๓) การผลิต บรรจุสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี
(๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป
(๕) การผลิตผงซักฟอก สบู่ น้ำยาทำความสะอาด หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ
๕. กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร
(๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุน้ำมันจากพืช
(๒) การล้าง อบ รม หรือสะสมยางดิบ
(๓) การผลิตหรือแบ่งบรรจุแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู แป้งจากพืช หรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๔) การสีข้าว นวดข้าวด้วยเครื่องจักร หรือแบ่งบรรจุข้าวด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม
(๕) การผลิตยาสูบ
(๖) การขัด กะเทาะ หรือบดเมล็ดพืช
(๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุปุ๋ยหรือวัสดุที่นำไปผลิตปุ๋ย
(๘) การผลิตเส้นใยจากพืช
(๙) การตาก สะสม ขนถ่ายผลิตผลของมันสำปะหลัง ข้าวเปลือก อ้อย ข้าวโพด ๖. กิจการ...

๖. กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่
(๑) การผลิตภาชนะ เครื่องประดับ เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยโลหะ หรือแร่
(๒) การถลุงแร่ การหลอม หรือหล่อโลหะทุกชนิด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาต ใน ๖ (๑)
(๓) การกลึง เจาะ เชื่อม ตี ตัด ประสาน รีด หรืออัดโลหะด้วยเครื่องจักร หรือก๊าซ หรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖ (๑)
(๔) การเคลือบ ชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิล หรือโลหะอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖ (๑)
(๕) การขัด ล้างโลหะด้วยเครื่องจักร หรือสารเคมี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖ (๑)
(๖) การทำเหมืองแร่ สะสม แยก คัดเลือก หรือล้างแร่
๗. กิจการที่เกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล
(๑) การต่อ ประกอบ เคาะ ปะผุ พ่นสี หรือพ่นสารกันสนิมยานยนต์
(๒) การผลิตยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล
(๓) การซ่อม การปรับแต่งเครื่องยนต์ เครื่องจักร เครื่องกล ระบบไฟฟ้า ระบบ ปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล
(๔) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการหรือจำหน่าย และในการประกอบธุรกิจนั้นมีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกลดังกล่าวด้วย
(๕) การล้าง ขัดสี เคลือบสี หรืออัดฉีดยานยนต์
(๖) การผลิต สะสม จำหน่าย ซ่อม หรืออัดแบตเตอรี่
(๗) การจำหน่าย ซ่อม ปะ เชื่อมยางยนต์ หรือตั้งศูนย์ถ่วงล้อ
(๘) การผลิต ซ่อม ประกอบ หรืออัดผ้าเบรก ผ้าคลัตซ์
(๙) การสะสม การซ่อมเครื่องกล เครื่องจักรเก่าหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบ ของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกลเก่า
๘. กิจการที่เกี่ยวกับไม้หรือกระดาษ
(๑) การผลิตไม้ขีดไฟ
(๒) การเลื่อย ซอย ขัด ไส เจาะ ขุดร่อง ทำคิ้ว หรือตัดไม้ด้วยเครื่องจักร
(๓) การผลิต พ่น ทาสารเคลือบเงา หรือสี แต่งสำเร็จของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์จากไม้ หวาย ชานอ้อย
(๔) การอบไม้
(๕) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุธูป
(๖) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียน หรือผลิตภัณฑ์อื่นใดด้วยกระดาษ
(๗) การผลิตกระดาษชนิดต่าง ๆ
(๘) การเผาถ่าน หรือสะสมถ่าน
/๙. กิจการ...

๙. กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ
(๑) การประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาล ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(๒) การประกอบกิจการอาบ อบ นวด
(๓) การประกอบกิจการนวดเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๙ (๑) หรือ ในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(๔) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร เว้นแต่เป็นการให้บริการ ที่ได้รับใบอนุญาตใน ๙ (๑) หรือสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(๕) การประกอบกิจการโรงแรม สถานที่พักที่มิใช่โรงแรมที่จัดไว้เพื่อให้บริการพักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน
(๖) การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า หรือห้องแบ่งเช่าหรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน
(๗) การประกอบกิจการโรงมหรสพ
(๘) การจัดให้มีมหรสพ การแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองแง็ง ดิสโกเธค คาราโอเกะ หรือตู้เพลง หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๙) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๙ (๑)
(๑๐) การประกอบกิจการเล่นสเก็ต หรือโรลเลอร์เบลด หรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๑๑) การประกอบกิจการเสริมสวย หรือแต่งผม เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
(๑๒) การประกอบกิจการสถานที่ออกกำลังกาย
(๑๓) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก
(๑๔) การประกอบกิจการสวนสนุก โบว์ลิ่ง หรือตู้เกม
(๑๕) การประกอบกิจการให้บริการคอมพิวเตอร์
(๑๖) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ
(๑๗) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุข วิทยาศาสตร์หรือสิ่งแวดล้อม
(๑๘) การประกอบกิจการสักผิวหนัง หรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย
(๑๙) การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้านของผู้บริการ
(๒๐) การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของผู้รับบริการ
(๒๑) การประกอบกิจการให้บริการสปา อาบน้ำ ตัดขน รับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์ชั่วคราว
/๑๐. กิจการ...

๑๐. กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ
(๑) การปั่นด้าย กรอด้าย ทอผ้าด้วยเครื่องจักร หรือทอผ้าด้วยกี่กระตุก
(๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้าย นุ่น หรือใยสังเคราะห์
(๓) การปั่นฝ้าย นุ่น ใยสังเคราะห์ด้วยเครื่องจักร
(๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร
(๕) การเย็บ ปักผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร
(๖) การพิมพ์ผ้า และสิ่งทออื่น ๆ
(๗) การซัก อบ รีด หรืออัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร
(๘) การย้อม ฟอก กัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ
๑๑. กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑) การผลิตภาชนะดินเผาหรือผลิตภัณฑ์ดินเผา
(๒) การระเบิด โม่ บด หรือย่อยหิน ด้วยเครื่องจักร
(๓) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้วยซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๔) การสะสม ผสมซีเมนต์ หิน ดิน ทราย วัสดุก่อสร้าง รวมทั้งการขุด ตัก ดูด โม่ บด หรือย่อย ด้วยเครื่องจักร ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๑๑ (๒)
(๕) การเจียระไนเพชร พลอย หิน หรือกระจก หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๖) การเลื่อย ตัด หรือประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
(๗) การผลิตชอล์ก ปูนปาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง หรือเผาหินปูน
(๘) การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม
(๙) การผลิต ตัด บดกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว
(๑๐) การผลิตกระดาษทราย หรือผ้าทราย
(๑๑) การผลิตใยแก้ว หรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว
(๑๒) การล้าง การขัดด้วยการพ่นทรายลงบนพื้นผิวกระจก แก้ว หิน หรือวัตถุอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖ (๕)
๑๒. กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ถ่านหิน ถ่านโค้ก และสารเคมีต่าง ๆ
(๑) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดส์ หรือสารตัวทำละลาย
(๒) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งก๊าซ
(๓) การผลิต สะสม กลั่น หรือขนส่งปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
(๔) การผลิต สะสม หรือขนส่งถ่านหิน หรือถ่านโค้ก
(๕) การพ่นสี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๗ (๑) /(๖) การผลิต...

(๖) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ด้วยยางเทียม พลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๗) การโม่ สะสม หรือบดชัน
(๘) การผลิตสีหรือน้ำมันผสมสี
(๙) การผลิต ล้างฟิล์มรูปถ่ายหรือฟิล์มภาพยนตร์
(๑๐) การเคลือบ ชุบวัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบอเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๒) การผลิต หรือบรรจุสารเคมีดับเพลิง
(๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง
(๑๔) การผลิต สะสม ขนส่งดอกไม้เพลิง หรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง
(๑๕) การผลิตแชลแล็ค หรือสารเคลือบเงา
(๑๖) การผลิต สะสม บรรจุ ขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหะนำโรค
(๑๗) การผลิต สะสม หรือบรรจุกาว
๑๓. กิจการอื่น ๆ
(๑) การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร
(๒) การผลิต การซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
(๓) การผลิตเทียน หรือเทียนไข หรือวัตถุคล้ายคลึง
(๔) การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียว หรือถ่ายเอกสาร
(๕) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด ใช้แล้วหรือเหลือใช้
(๖) การประกอบกิจการโกดังสินค้า
(๗) การล้างขวด ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วเพื่อนำไปใช้ใหม่หรือแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่
(๘) การพิมพ์ เขียน พ่นสี หรือวิธีอื่นใดลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ
(๙) การประกอบกิจการท่าเทียบเรือประมง สะพานปลา หรือแพปลา
(๑๐) การบรรจุหีบห่อสินค้าโดยใช้เครื่องจักร
(๑๑) การให้บริการควบคุมป้องกันและกำจัดแมลง หรือสัตว์พาหนะนำโรค
(๑๒) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากยาง
(๑๓) การผลิต สะสม หรือขนส่งไบโอดีเซลและเอทานอล
/ข้อ ๗ ผู้...
๑๐
ข้อ ๗ ผู้ดำเนินกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพที่ต้องควบคุมภายในท้องถิ่นต้องดำเนินการ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดตามข้อบัญญัตินี้ รวมทั้งกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
สถานประกอบกิจการที่ตั้งอยู่ในท้องที่ที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมืองหรือกฎหมายว่าด้วย การควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับ สถานประกอบกิจการที่เป็นโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน หรือสถานประกอบกิจการที่มีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตราย ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วยแล้วแต่กรณี
หมวด ๒
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขทั่วไปสำหรับให้ผู้ดำเนินกิจการปฏิบัติ
เกี่ยวกับการดูแลสภาพหรือสุขลักษณะของสถานที่ที่ใช้ดำเนินกิจการและมาตรการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ
ส่วนที่ ๑
สถานที่ตั้ง ลักษณะอาคาร และการสุขาภิบาล
ข้อ ๘ สถานประกอบกิจการต้องตั้งอยู่ห่างจากศาสนสถาน โรงพยาบาล สถานศึกษา สถานเลี้ยงเด็ก สถานดูแลผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยพักฟื้นหรือผู้พิการ หรือสถานที่อื่นใดที่ต้องมีการคุ้มครองสุขภาพของประชาชนเป็นพิเศษ ซึ่งจะต้องไม่อยู่ในระยะที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน หรือจะต้องมีระบบป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนที่มีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงลักษณะและประเภทของสถานประกอบกิจการ ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีกำหนด
ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับสถานประกอบกิจการที่เป็นโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน
ข้อ ๙ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องเป็นอาคารที่มีความมั่นคง แข็งแรง เหมาะสมที่จะประกอบกิจการที่ขออนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ทางหนีไฟ บันไดหนีไฟ หรือทางออกฉุกเฉิน ให้มีลักษณะตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง มีแสงสว่างเพียงพอ และมีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงชัดเจน โดยทางออกฉุกเฉินต้องมีไฟส่องสว่างเมื่อระบบไฟฟ้าปกติขัดข้อง
ข้อ ๑๐ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่าง และการระบายอากาศ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๑ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องมีห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนด ในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และมีการดูแลรักษาความสะอาด ให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน
๑๑
ข้อ ๑๒ สถานที่ประกอบกิจการต้องมีการเก็บ รวบรวม หรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะดังนี้
(๑) มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับประเภทและปริมาณ ของ มูลฝอย รวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับ และบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ
(๒) ในกรณีที่มีการกำจัดมูลฝอยเอง ต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติท้องถิ่น และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๓) กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษ หรือวัตถุอันตราย หรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตราย ต่อสุขภาพ หรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๓ สถานประกอบกิจการต้องดูแลมิให้มีน้ำท่วมขังบริเวณสถานประกอบกิจการ และจัดให้มีการระบายน้ำหรือการดำเนินการอย่างใด ๆ ด้วยวิธีที่เหมาะสม เพื่อไม่ก่อให้เกิดความเดือนร้อนรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพแก่ประชาชนในบริเวณใกล้เคียง
ในกรณีที่มีน้ำทิ้งหรือน้ำเสียเกิดขึ้นจากสถานประกอบกิจการตามวรรคหนึ่ง ซึ่งการดำเนินการของสถานประกอบกิจการดังกล่าวอยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยโรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ สถานประกอบกิจการนั้นต้องดำเนินการตามที่กฎหมายดังกล่าวกำหนด
ข้อ ๑๔ สถานประกอบกิจการต้องมีการป้องกัน และกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหนะ นำโรคให้ถูกต้องตามหลักวิชาการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
ข้อ ๑๕ สถานประกอบกิจการที่มีโรงอาหารหรือห้องครัวที่จัดไว้สำหรับการประกอบอาหาร การปรุงอาหาร หรือการสะสมอาหารสำหรับผู้ปฏิบัติงาน ต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหาร ที่กำหนดตามข้อบัญญัติท้องถิ่น รวมทั้งกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๑๖ สถานประกอบกิจการต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบ เรียบร้อย ปลอดภัย เป็นสัดส่วน และดูแลรักษาความสะอาดให้ถูกต้องตามสุขลักษณะและอนามัยเพื่อให้เกิดความปลอดภัย และไม่ก่อให้เกิดเหตุรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ข้อ ๑๗ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีน้ำดื่มสะอาดที่มีคุณภาพไม่ต่ำกว่าเกณฑ์คุณภาพน้ำบริโภคของกรมอนามัยสำหรับผู้ปฏิบัติงานอย่างเพียงพอทุกวัน รวมทั้งจัดให้มีภาชนะรองรับน้ำดื่มที่สะอาดและปราศจากสิ่งปนเปื้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และสถานที่ตั้งน้ำดื่มและลักษณะการนำน้ำมาดื่ม ต้องไม่เกิดการปนเปื้อนจากสิ่งสกปรกหรือสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
/ข้อ ๑๘...
๑๒
ข้อ ๑๘ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีน้ำใช้ที่มีปริมาณและคุณภาพเหมาะสมต่อการประกอบกิจการนั้น ๆ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงน้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิต
ส่วนที่ ๒
ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และการป้องกันเหตุรำคาญ
ข้อ ๑๙ สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงานและปฏิบัติ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๒๐ สถานประกอบกิจการที่มีการดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตราย ต้องมีสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตรายหรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออัคคีภัยได้ง่ายไว้โดยเฉพาะ ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๒๑ สถานประกอบกิจการที่ผู้ปฏิบัติงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมี วัตถุอันตราย หรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ต้องจัดให้มีที่ชำระร่างกายฉุกเฉิน และที่ล้างตาฉุกเฉิน ตามความจำเป็นและเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยโรงงาน กฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๒๒ สถานประกอบกิจการต้องใช้อุปกรณ์ เครื่องมือ หรือเครื่องจักรที่มีสภาพที่ปลอดภัยสำหรับการใช้งานในสถานประกอบกิจการ และต้องมีการติดตั้งในลักษณะที่แข็งแรง มั่นคง และปลอดภัย โดยมีระบบป้องกันอันตราย และป้ายคำเตือนหรือคำแนะนำในการป้องกันอันตรายจากอุปกรณ์ เครื่องมือ หรือเครื่องจักรนั้น ทั้งนี้ การจัดวางหรือการจัดเก็บอุปกรณ์ เครื่องมือ หรือเครื่องจักรต้องเป็นระเบียบ ไม่กีดขวางทางเดินและการปฏิบัติงานและต้องมีการดูแล ตรวจสอบและบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพดีตลอดเวลา
ข้อ ๒๓ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการตรวจสุขภาพผู้ปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๒๔ สถานประกอบกิจการใดที่ประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียง มลพิษ ทางอากาศ มลพิษทางน้ำ มลพิษทางแสง มลพิษทางความร้อน มลพิษทางความสั่นสะเทือน ของเสียอันตราย หรือมีการใช้สารเคมี หรือวัตถุอันตรายจะต้องดำเนินการควบคุมป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียงหรือผู้ที่ต้องประสบกับเหตุนั้น
/หมวด ๓...
๑๓
หมวด ๓
ใบอนุญาต
ข้อ ๒๕ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้ใช้บังคับ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในท้องถิ่นในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ในการออกใบอนุญาต เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธรณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้
ใบอนุญาตให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียวและสำหรับสถานที่แห่งเดียว
ข้อ ๒๖ ผู้ใดประสงค์จะเป็นผู้ดำเนินกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในท้องถิ่นในลักษณะ ที่เป็นการค้าจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) สำเนาบัตรประจำตัว (ประชาชน ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ อื่น ๆ)
(๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๓) อื่น ๆ ตามที่ราชการส่วนท้องถิ่นประกาศกำหนดและเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ
ข้อ ๒๗ ผู้เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจสอบความถูกต้องของคำขอและความครบถ้วนของเอกสารหลักฐานทันที กรณีไม่ถูกต้อง ครบถ้วน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งต่อผู้ยื่นคำขอให้แก้ไขเพิ่มเติมเพื่อดำเนินการ หากไม่สามารถดำเนินการ ได้ในขณะนั้น ให้จัดทำบันทึกความบกพร่องและรายการเอกสารหรือหลักฐานยื่นเพิ่มเติมในระยะเวลาที่กำหนด โดยให้เจ้าหน้าที่และผู้ยื่นคำขอลงนามไว้ในบันทึกนั้นด้วย
เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผล ให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่ง ไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้งครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลา ตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ หากเจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณายังไม่ แล้วเสร็จ ให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบถึงเหตุแห่งความล่าช้าทุกเจ็ดวันจนกว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จ พร้อมสำเนาแจ้ง ก.พ.ร. ทราบทุกครั้ง
/ข้อ ๒๘...
๑๔
ข้อ ๒๘ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวัน (หรือตามที่เห็นสมควร) นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เว้นแต่จะมีเหตุอันสมควรและได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบแล้ว
ข้อ ๒๙ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่นเท่านั้น
การขอต่ออายุใบอน?